วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สัตว์เลื้อยคลาน

สัตว์เลื้อยคลาน
  เป็นสัตว์ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่บนบกได้ ลักษณะภายนอกคือ ผิวหนังแห้ง ลำตัวมีเกล็ดหุ้ม สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการปฏิสนธิภายในออกลูกเป็นไข่ วางไข่บนบก ไข่มีจำนวนไม่มากนัก ไข่มีขนาดใหญ่และมีเปลือกแข็งหรือเปลือกหุ้ม มีขา 4 ขา สัตว์เลื้อยคลานจะอาศัยบนบก แต่บางชนิดหากินในน้ำ
                                                                  ปอด   =   ใช้หายใจ
                                                                  ปาก    =   ใช้กินอาหาร
                                                                  ตา      =   ใช้ในการมองเห็น
                                                                    หู      =  ใช้รับฟังเสียง และการทรงตัว
                                                                  จมูก    =   ใช้ดมกลิ่น
                                                                  เท้า     =   ใช้เคลื่อนที่
ตัวอย่างเช่น จระเข้

   จระเข้   เป็นสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน   ที่ครั้งหนึ่งในอดีต   เคยมีปริมาณมากมายตามแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยแต่ ปัจจุบันนี้จระเข้ประสบภาวะ ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ ไปจากธรรมชาติเนื่องจากความต้องการบริโภคของมนุษย์อันมีต่อหนัง  และเนื้อจระเข้ทวีปริมาณมากขึ้นป  ระกอบกับสภาพความเป็นอยู่และแหล่งอาศัยหากินในธรรมชาติ  ถูกทำลายด้วยการรุกล้ำของมนุษย์ ดังนั้นเราจึงพบเห็นเพียงจระเข้ที่เกิดหรืออยู่ในที่เพาะเลี้ยงเท่านั้นซึ่งก็คือหนทางเดียวที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรจระเข้เอาไว้ได้อีกทั้งยังเป็นจรรโลงธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์เพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจขึ้นมา

  จระเข้ที่ใช้เป็นสัตว์เศรษฐกิจ
จระเข้ที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นมีอยู่ ๒ ชนิด คือ
                                           ๑. จระเข้น้ำจืด หรือจระเข้พันธุ์ไทย
                                           ๒. จระเข้น้ำเค็ม หรือจระเข้ตีนเป็ด หรือไอ้เคี่ยม

ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องต่อการเลี้ยงจระเข้
๑. พันธุ์ การตัดสินใจเลือกว่าจะเลี้ยงจระเข้พันธุ์ใดย่อมขึ้นกับ
๑.๑ ความต้องการของตลาด
๑.๒ แหล่งที่มาของพันธุ์ ซึ่งต้องเป็นพันธุ์แท้
๑.๓ คุณภาพของสายพันธุ์นั้นว่า มาจากพ่อแม่พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง สมบูรณ์และแข็งแรง มีข้อบกพร่องทางพันธุกรรมอย่างใดหรือไม่

๒. สถานที่เลี้ยง ข้อนี้รวมทั้งที่ดิน ทำเลที่ตั้ง และบ่อที่ใช้เลี้ยง โดยพิจารณาจาก
๒.๑ การรบกวนต่อเพื่อนบ้านใกล้เคียง
๒.๒ การคมนาคมขนส่ง
๒.๓ ระบบและสถานที่หรือลู่ทางระบายกำจัดของเสีย ทั้งสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย
๒.๔ ค่าลงทุนในที่ดิน กับค่าตอบแทนจากการเลี้ยง
๒.๕ การขยายตัวในอนาคต มีเผื่อไว้หรือไม่
๒.๖ ขนาดบ่อที่ใช้เลี้ยง
๒.๗ วัสดุ พื้นผิว และระบบที่ใช้เลี้ยงจระเข้ ซึ่งขึ้นกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ตั้งแต่แรก

๓. แหล่งน้ำ เนื่องจากจระเข้เป็นสัตว์เลื้อยคลานจึงไม่สามารถปรับอุณหภูมิภายในร่างกายได้ด้วยตัวเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้สิ่งแวดล้อม เป็นตัวช่วยปรับอุณหภูมิ นั่นคือ "น้ำ" ต้องจัดหาน้ำให้เพียงพอ สม่ำเสมอตลอดเวลา อีกทั้งคุณภาพน้ำต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดีด้วย การเลี้ยงจึงจะประสบผลสำเร็จ ได้จระเข้ที่มีหนังคุณภาพสูงทัศนคติเดิมๆ เกี่ยวกับจระเข้ที่ว่าสามารถอยู่ในน้ำเน่าควรลืมเสียเพราะวิธีเลี้ยงเช่นนั้น จะทำให้จระเข้ป่วยและมีคุณภาพหนังที่เลว ดังนั้น ผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงแหล่งน้ำดิบที่ดีเพื่อใช้เลี้ยง ล้าง และทำความสะอาดบ่อจระเข้โดยทั่วไปให้มาก

๔. แหล่งอาหาร อาหารที่ดีมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นซากไก่ ปลา หมู วัว ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนก็ดี ควรอยู่ไม่ไกลจากที่เลี้ยงมากนักเพราะ การขนส่งไกลๆ ย่อมทำให้อาหารสดเหล่านั้นบูดเน่าหรือคุณภาพเสื่อมถอยลง อีกทั้งต้องคำนึงถึงการจัดหาว่าสามารถจัดหาอาหารเหล่านั้นให้ได้สม่ำเสมอหรือไม่ มิใช่ขาดๆ หายๆ อันจะเป็นผลเสียต่อการเลี้ยงรวมถึงราคาที่ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะอีกด้วย

๕. แหล่งวิชาการ ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าชนิดใดก็ตามล้วนจำเป็นต้องอาศัยวิทยาการ และเทคโนโลยีที่ทันยุคทันสมัย เพื่อให้ได้ผลผลิต คุ้มค่ากับการลงทุน การเลี้ยงจระเข้ก็เช่นเดียวกัน หากสามารถหาแหล่งสนับสนุนทางวิชาการได้ เช่น สมาคมฯ มหาวิทยาลัย หรือนักวิชาการ เพื่อช่วยชี้แนะให้ การดำเนินการเป็นไปในแนวทางที่จักก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดและคุ้มค่า อีกทั้งหากมีปัญหาเกิดขึ้นก็ย่อมช่วยแก้ไขปัญหาผ่อนคลายได้ก่อนที่จะสายเกินไป

๖. ทุนทรัพย์ ปัจจัยนี้หากขาดแล้วละก็มิอาจดำเนินกิจการอะไรได้เลยไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงจระเข้หรือสัตว์อื่นใด แต่เราสามารถควบคุมปัจจัยนี้ได้ โดยใช้ทุกบาททุกสตางค์เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าสูงสุด คิดตริตรองและใช้เหตุผลประกอบกับหลักวิชาการทุกครั้งก่อนใช้เงิน

๗. การตลาด เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก หากเลี้ยงไปแล้วไม่มีตลาดรับซื้อผลผลิตจะทำอย่างไร? ราคาต่ำ ไม่คุ้มการลงทุนจะขายหรือไม่? การจะสร้างตลาดลูกจระเข้ ตลาดหนังจระเข้ หรือตลาดผลิตภัณฑ์จระเข้ ทั้งในและนอกประเทศได้อย่างไร? ผู้ที่ตั้งต้นหรือคิดที่จะเลี้ยงจระเข้ควรศึกษาหา ข้อมูลให้ดีเสียก่อน อีกทั้งต้องรู้ขั้นตอนต่างๆ ในการค้าขายจระเข้นั่นรวมถึงระเบียบกฎเกณฑ์ข้อกฎหมาย ทั้งของภายในประเทศและระหว่างประเทศ (ไซเตส CITES) อย่างถ่องแท้อีกด้วย 

การสืบพันธุ์ของจระเข้
จระเข้เพศเมีย อวัยวะสืบพันธุ์ แบ่งได้เป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือ
๑.รังไข่ รังไข่จระเข้มีจำนวน ๒ อัน รูปร่างรีและแบนสีขาวเนื้อค่อนข้างแน่นแข็งติดอยู่ใกล้กับไตทั้ง ๒ ข้าง โดยแขวนลอยใต้กระดูกสัน หลังส่วนเอว เมื่ออยู่ในฤดูผสมพันธุ์รังไข่จะขยายตัวและมีถุงไข่อ่อนอยู่บนผิวเป็นจำนวนมาก
๒.ท่อนำไข่ ท่อนำไข่ของจระเข้ ได้แก่ ส่วนที่เห็นเป็นท่อแบนๆ รูปตัว (Y) แยกเป็น ๒ ปีก ถัดจากรังไข่ทั้งสองข้างท่อนำไข่จะเปิดออกสู่ บริเวณช่องขับถ่ายร่วม ด้านล่างของลำตัวตรงตำแหน่งโคนหางของจระเข้ 
จระเข้เพศผู้ อวัยวะสืบพันธุ์ แบ่งได้เป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ คือ
๑. อัณฑะ อัณฑะของจระเข้มีจำนวน ๒ อัน อยู่ในช่องท้องบริเวณใกล้กับไตซึ่งติดอยู่ด้านหลัง มี หน้าที่ผลิตน้ำเชื้อ(อสุจิ)
๒. ท่อนำน้ำเชื้อ เป็นท่อที่ต่อจากอัณฑะมายังอวัยวะเพศในช่องขับถ่ายร่วม ทำหน้าที่เป็นทางขนส่งน้ำเชื้อจากอัณฑะเพื่อออกผ่านทางอวัยวะ เพศขณะผสมพันธุ์
๓.อวัยวะเพศผู้ มีลักษณะเป็นแท่งยาวปลายแหลมขยายออกเล็กน้อย โดยมีรอยคอดก่อนถึงส่วนขยายมีร่องเปิดด้านบน เพื่อให้น้ำเชื้อซึ่ง ผ่านมาจากท่อนำน้ำเชื้อไหลออกขณะทำการผสมพันธุ์ โดยปกติแล้วอวัยวะเพศผู้จะพับซ่อนตัวอยู่ในช่องขับถ่ายร่วมและจะโผล่ออกมาเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์เท่านั้น 

การฟักไข่จระเข้ที่กระทำกันอยู่ในประเทศไทยขณะนี้มีอยู่ ๓ แบบ คือ
๑.แบบธรรมชาติ โดยการเตรียมวัสดุปูรังและรัง เช่น ฟาง ใบไม้ หญ้าแห้ง จอก แหน ผักตบ ฯลฯ ไว้ในบ่อจระเข้ แม่จระเข้จะกวาดวัสดุเหล่า นั้นมาพูนทำรังขึ้นเองและวางไข่ในนั้นตรงบริเวณพื้นที่ซึ่งจัดเตรียมไว้ให้ หลังจากแม่จระเข้วางไข่เรียบร้อยแล้วจึงทำการปิดกั้นมิให้แม่จระเข้เข้ามาที่ รังอีกรอ จนถึงเวลาฟักไข่ใกล้ฟักเป็นตัวหรือได้ยินเสียงร้องของลูกจระเข้ ก็ให้มาขุดเอาไข่ขึ้นเพื่อแกะเปลือกเอาลูกจระเข้ออกมา
ข้อดี คือ   ประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย คือ ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ โอกาสไข่เน่าเสียมีมาก



๒.แบบกึ่งธรรมชาติ เก็บไข่จระเข้จากรังมาฟักในบ่ออนุบาลหรือหลุมที่ใช้ดิน ทราย เศษฟาง หญ้า ใบไม้ สุมขึ้นมาให้ดูคล้ายรังจริงทำ การ ตรวจวัดอุณหภูมิทุกวันโดยใช้ปรอทด้ามยาวแทงลงไปในรัง หากพบว่าร้อนจัดก็จะใช้น้ำจากฝักบัวรดบริเวณรังเป็นการลดความร้อนและให้ความชื้นไป ในตัว หากอุณหภูมิต่ำกว่าเกณฑ์มักใช้หลอดไฟฟ้า ๑๐๐ แรงเทียน ส่องเพื่อให้เกิดความร้อนนับวันหรือรอฟังเสียงลูกจระเข้ร้องจึงทำการช่วยแกะเปลือกเช่น เดียวกับ แบบธรรมชาติ

ข้อดี คือ สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมได้ดีขึ้นกว่าแบบธรรมชาติ
ข้อเสีย คือ เพิ่มค่าใช้จ่ายและภาระการดูแลมากขึ้นโอกาสไข่เสียยังมีอยู่มาก

๓.แบบใช้ตู้ฟัก โดยใช้ตู้ฟักไข่ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเที่ยงตรง เชื่อถือได้ ก่อนนำไข่เข้าตู้ฟักต้อง ล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและเช็ดไข่ให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก เช่น เมือก เศษดิน ทราย ใบไม้ อันเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อจากนั้นวางบนตะแกรงในตู้ซึ่งสามารถ ตรวจสอบดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้ทุกวันจนฟักเป็นตัว

ข้อดี คือ ควบคุมสภาวะแวดล้อมได้แน่นอน ลดความสูญเสียลงมากสามารถตรวจดูและแยกไข่เสียออกได้ตลอดเวลาและสามารถกำหนดเพศ ลูกจระเข้
ข้อเสีย คือ เพิ่มการลงทุนและค่าใช้จ่าย

ปัจจัยที่มีผลต่อการฟักไข่
๑. อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ช่วง ๓๑ ถึง ๓๒ องศาเซลเซียส และพบว่าหากอุณหภูมิสูงจะใช้ระยะฟักสั้น แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำจะใช้เวลา นานออกไป ส่วนอุณหภูมิที่สูงเกินไปมีผลทำให้ลูกจระเข้ที่ออกมามีร่างกายพิการ จนบางครั้งตายในไข่หรือไข่แดงไม่เข้าท้อง

๒.ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม คือ ๙๙% ขึ้นไป ไม่ควรต่ำว่า ๙๕% ลงมา เพราะความชื้นสัมพัทธ์ที่ต่ำจะทำให้ไข่แห้งและตัว อ่อนจระเข้ตายเพระขาดน้ำ อีกทั้งระยะใกล้ฟักเป็นตัวลูกจระเข้เจาะเปลือกไข่ที่แห้งเพราะขาดความชื้นได้ยากขึ้น

๓.การแลกเปลี่ยนก๊าซ ตัวอ่อนภายในไข่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซเข้าออก ทั้งรับก๊าซอ๊อกซิจนและขับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ผ่านรูเล็กๆบนผิว เปลือกไข่ ดังนั้น หากไข่แช่อยู่ในน้ำหรือมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปิดบังรูผิวจะทำให้ขาดการแลกเปลี่ยนก๊าซ ตัวอ่อนจะตายในที่สุด รวมถึงอากาศในบรรยากาศ ของตู้ฟักไข่ด้วย ควรจะมีการถ่ายเทออกนอกตู้ฟักอย่างน้อยวันละครั้ง

ระยะเวลาในการฟักไข่
จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ ๗๐-๘๐ วัน
จระเข้น้ำเค็ม ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ ๘๕-๙๐ วัน


วีดีโอฟักไข่จรเข้

การอนุบาลลูกจระเข้
    ลูกจระเข้ที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ ควรได้รับการเลี้ยงดูหรืออนุบาลเป็นกรณีพิเศษ โดยต้องคำนึงถึง
๑.สุขศาสตร์สัตว์ สุขอนามัยของลูกจระเข้แรกเกิดเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากเราะมีโอกาสได้รับเชื้อโรคง่าย ซึ่งสามารถผ่านมาทางสะดือ โดยปะปนมากับน้ำที่ใช้เลี้ยงหรือพื้นบ่อไม่สะอาด ดังนั้น จึงต้องทำความสะอาดบ่อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจำเปลี่ยนน้ำทุกวันวันละครั้ง เพื่อขจัดเศษอาหารและ สิ่งขับถ่ายออกไปรวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนบุคลากรที่ต้องเน้นถึงความสะอาดถูกสุขอนามัยเป็นสำคัญ

๒.โภชนาการ ลูกจระเข้เกิดใหม่ในระยะ ๗ วันแรก ยังไม่กินอาหารเนื่องจากไม่สามารถใช้ไข่แดงที่เหลืออยู่ภายในช่องท้อง แต่หลังจากนี้ แล้ว จำต้องกินอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณถูกต้อง เพียงพอเหมาะสม เช่นเนื้อปลา กุ้ง หมู ไก่สับ ตลอดจนสัตว์มีชีวิตเช่น ลูกปลา ลูกกบ ฯลฯ ลูกจระเข้จะกิน อาหารทุกวันวันละ ๕-๑๐% ของน้ำหนักตัว ทำให้อัตราการเจริญเติบโตในระยะแรกๆ สูงมาก

๓.สภาวะแวดล้อม สภาพแวดล้อมมีผลต่อการเจริญเติบโตและการอยู่รอดของลูกจระเข้เป็นอย่างมาก ไม่แพ้ปัจจัยทั้งสองที่กล่าวมาแล้วทั้งนี้เพราะลูกจระเข้ที่ฟักออกมาใหม่ต้องเผชิญกับบรรยากาศภายนอกทันทีทันใด การเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันย่อมทำให้ลูกจระเข้ตกอยู่ในสภาพ"เครียด" ซึ่งจะโน้มนำให้เจ็บป่วย ติดเชื้อ ไม่กินอาหารและตาย ดังนั้นลูกจระเข้ที่ฟักออกมาใหม่ควรเลี้ยงไว้ในตู้อนุบาลหรือบ่ออนุบาล ที่มีอุณหภูมิบรรยากาศและในน้ำระหว่าง ๓๑-๓๒ องศาเซลเซียส อยู่ในที่เงียบมืดมีอากาศไหลเวียนถ่ายเทอย่างสม่ำเสมอ ลูกจระเข้ที่เกิดใหม่ควรอยู่ในบ่ออนุบาลที่มีขนาดพื้นที่เหมาะสม ทั้งนี้เพราะการ อยู่อย่างหนาแน่นเกินไปจะทำให้เกิดการกัดกัน แย่งอาหาร แย่งพื้นที่ แพร่โรคง่าย และสร้างสมความเครียดขึ้น ฉะนั้นพื้นที่ต่อตัวที่เหมาะสม คือ ๐.๐๗ ตารางเมตร



วีดีโอ จรเข้



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบทความ เช่น "สัตว์ปีก"