สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก
สัตว์พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนกับปลา อาหารที่กินจะเป็นตัวหนอน และแมลง โดยใช้ลิ้นตวัดเข้าปาก ตอนเป็นตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำ เมื่อโตเต็มวัยจะขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก แต่สามารถยังอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ได้แก่ กบ อึ่งอ่าง คางคก เขียด ปาด จงโคร่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคางคก
ลักษณะสำคัญ มีผิวหนังเรียบไม่มีเกล็ด และเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา เพราะมีต่อมสร้างน้ำเมือกคอยขับน้ำเมือกออกมาถ้าผิวหนังแห้งบางพวกอาจต่อมพิษอยู่ตามผิวหนังที่ขรุขระสัตว์พวกนี้ตอนเป็นตัวอ่อนจะมีหางและมีรูปร่างคล้ายปลา อาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เรียกว่า " ลูกอ๊อด ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง โดยเหงือกค่อยๆ หายไป และปอดใช้หายใจแทนเหงือก ขาเริ่มงอก หางหดสั้นลงจนมีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย แต่มีขนาดเล็ก ขึ้นมาอาศัยบนบก และเจริญเติบโต นอกจากหายใจด้วยปอดแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนก๊าชผ่านทางผิวหนังที่บางและชุ่มชื้นได้อีกทางหนึ่งด้วย ทำให้สามารถอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ในฤดูหนาวและฤดูร้อน สัตว์พวกนี้จะหลบความแห้งแล้งและขาดแคลน อาหารไปอยู่ที่ชุ่มชื้น โดยขุดรูหรือฝังตัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า " การจำศีล " ในช่วงนี้จะไม่กินอาหาร โดยจะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้าๆ เพื่อรอฤดูฝนจะออกมากินอาหารตามปกติ เช่น
กบนา
ลักษณะของกบนา
วีดีโอการเลี้ยงกบนา
ลักษณะทั่วไปของ กบนา
กบนา หรือ กบพื้นเมือง เป็นกบขนาดกลาง ที่พบอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 200 – 400 กรัม ด้านหลังมีสีน้ำตาลและมีจุดดำ
ด้านท้องสีขาว ที่ริมฝีปากมีแถบสีดำ ใต้คางอาจมีจุดดำหรือลายสีดำ ขาหน้าและขาหลังมี ความยาว ปานกลาง เท้าหน้ามี 4 นิ้ว ไม่มีแผ่นหนังยึดติด ส่วนเท้าหลังมี 5 นิ้ว
รูปแบบบ่อเลี้ยงกบ บ่อเลี้ยงกบในปัจจุบันทำได้หลายแบบ ได้แก่
1)บ่อซีเมนต์ และถังซีเมนต์ชนิดกลม ควรเป็นบ่อที่กักเก็บน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร บ่อแบบนี้สามารถดัดแปลงนำไปใช้ในการเลี้ยงแบบต่างๆ เช่น การขยายพันธุ์ เลี้ยงกบเนื้อและพ่อแม่พันธุ์
การอนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก
2)บ่อดินข้อดี คือการลงทุนต่ำบริเวณพื้นที่ที่มีอากาศหนาวสามารถใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบนาข้ามฤดูกาล
ได้ดีสามารถทำเป็นบ่อพักกบนาชั่วคราวในกรณีที่ต้องการลดอาหารเพื่อให้กบพักตัวในช่วงฤดูหนาว
ก่อนนำไปขาย
3)การเลี้ยงในกระชังบริเวณพื้นที่ๆมีบ่อน้ำหรือมีสระน้ำขนาดใหญ่หรือมีร่องน้ำไหลผ่านสามารถทำกระชังเลี้ยงกบได้
ลักษณะข้อดี ข้อเสีย ของกบนา
ข้อดี
1. ไข่กบนาสามารถฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 1-2 วัน
2. ลูกอ๊อดกบนาใช้ระยะในการเจริญเติบโตเป็นลูกกบ เพียง 30-45 วัน
3. รวมระยะเวลาการเลี้ยงจนกระทั่งสามารถจับขายได้ เพียง 3-4 เดือน
ข้อเสีย
1. เมื่อถึงฤดูหนาว กบนาจะจำศีล คือจะไม่กินอาหาร
2. กบนามีนิสัยดุร้าย กัดกินกันเองได้ ตั้งแต่ระยะลูกอ๊อด
3. กบนาตื่นตกใจได้ง่าย ดังนั้นอาจจะเกิดบาดแผลได้ง่าย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น