วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สัตว์ทะเลผิวขรุขระ

สัตว์ทะเลผิวขรุขระ 

  สัตว์พวกนี้ตามผิวลำตัวมักหยาบ ขรุขระ และแข็ง เพราะมีสารพวกหินปูนเป็นองค์ประกอบ ไม่มีส่วนหัว บางชนิดร่างกายแยกเป็นแฉก เช่น ดาวทะเล บางชนิดรูปร่างกลมแบน เช่น อีแปะทะเล บางชนิดมีหนามยาวทั้งลำตัว เช่น เม่นทะเล บางชนิดมีผิวหนังหนา ขรุขระแต่ไม่แข็ง เช่น ปลิงทะเล สัตว์พวกนี้หายใจโดยใช้ปุ่มตามผิวหนัง สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ส่วนใหญ่เพศผู้และเพศเมียแยกจากกัน


ปลิงทะเล

    ปลิงทะเล (อังกฤษ: sea cucumber) เป็นสัตว์ทะเลที่ไร้กระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลเอคไคโนเดิร์ม ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับดาวทะเลและหอยเม่น เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีรูปร่างกลมยาว คล้ายไส้กรอกขนาดใหญ่ ปลายทั้งสองข้างเป็นช่องเปิดของปากและทวาร ผิวหนังส่วนนอกคล้ายเนื้อยืดหยุ่นได้ ภายในผิวหนังมีตุ่มเม็ดหินปูนกระจายอยู่ทั่วไปตามผิวนอกมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ คล้ายหนวดสั้น ๆ เรียงอยู่เป็นแถว ทำหน้าที่ช่วยในการหายใจและเคลื่อนไหว ปากของปลิงทะเลอยู่ตอนปลายสุดด้านที่มีหนวดลักษณะคล้ายต้นไม้ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการหาอาหาร โดยใช้หนวดขุดโคลนตมหน้าดินเข้าปากผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และกากที่เหลือจะถ่ายออกทางช่องก้นซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง ทวารของปลิงทะเลเป็นช่องเล็ก ๆ ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสีย หายใจ เป็นทางออกของเชื้ออสุจิ ปลิงมีสารพิษ โฮโลทูลิน ซึ่งปล่อยออกทางผิวหนัง ใช้ในการป้องกันอันตรายจากปลาและปู ถ้าหากนำปลิงทะเลไปใส่ในตู้เลี้ยงปลามันจะปล่อยสารพิษดังกล่าวออกมามากจนทำให้ปลาตายได้ ถิ่นอาศัย พบตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลนใน อ่าวไทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินอินทรีย์วัตถุตามพื้นดินโคลนและทราย ขนาด มีความยาวประมาณ 30–40 ซม. ประโยชน์ เนื้อปลิงใช้ปรุงอาหารได้

    การแพร่กระจายของปลิงทะเล อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลในระดับความลึก 20-30 เมตร สามารพบได้ในบริเวณหาดทรายปนเลนหรือทรายล้วน ๆ หรือตามบริเวณที่มีกระแสน้ำ ตามเกาะบริเวณปะการัง และสภาพน้ำทั่วไป อุณหภูมิน้ำอยู่ระหว่าง 24-28 องศาเซลเซียส ความเค็มสามารถอยู่ได้ในระดับ 27-35 ppt และสามารถอยู่ได้ในระดับความเค็มต่ำกว่า 10 ppt ถึง 17 ชั่วโมง ซึ่งถ้าอยู่ในระดับความเค็มสูง จะมีความแข็งแรงกว่าความเค็มต่ำ ปลิงทะเลสามารถงอกส่วนที่ขาดได้ภายในระยะเวลา 2 เดือน (chen jia xin, 1990) และปลิงทะเลจะเริ่มลงสู่พื้นในระยะ Perdactula เมื่อมีอายุประมาณ 12 วัน ปลิงทะเลปกติไม่ชอบแสงสว่าง และออกหาอาหารในเวลากลางคืน


ขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงปลิงทะเล มีดังนี้

1. เตรียมลูกพันธุ์ปลิงทะเลซึ่งต้องนำพ่อแม่พันธุ์ปลิงทะเลมาจากธรรมชาติ ขนาดน้ำหนักตัวตั้งแต่ 500 กรัมขึ้นไป เพาะเลี้ยงให้สมบูรณ์ในโรงเพาะฟัก กระตุ้นให้วางไข่ (ประมาณ 1-2 ล้านฟอง/ครั้ง) และเกิดการผสมระหว่างไข่และเชื้ออสุจิ


2. ไข่ที่ถูกผสมแล้ว นำมาเพาะเลี้ยงในโรงเพาะฟักประมาณ 2 เดือน จนได้ขนาดโตประมาณ 1.5-2.5 ซม.
หนักประมาณ 0.5-1.0 กรัม หลังจากนั้น จึงนำไปให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงต่อ สถานที่เพาะเลี้ยงที่เหมาะสม คือ ในน้ำทะเลที่มีความลึกประมาณ 1-3 เมตร โดยใช้วิธีกั้นเป็นคอก (sea pen) ถ้าเป็นบริเวณที่มีหญ้าทะเลขึ้นจะเร่งการเจริญเติบโต หรือทำการเพาะเลี้ยงในบ่อกุ้งที่ไม่ได้ใช้งาน ซึ่งอัตราการเจริญเติบโตที่ได้จะอยู่ที่ 2-3 กรัม/วัน ความหนาแน่นในการปล่อยอยู่ที่ 100-200 กรัม/ตร.เมตร ความเค็มของ น้ำที่เหมาะสมคือระดับ 25-30 ppt ซึ่งการเพาะเลี้ยงในบ่อดินที่มีการควบคุมสภาพ จะให้ผลดีกว่า

  ในระยะแรกๆ ของการเพาะเลี้ยงปลิงทะเลนั้น เนื่องจากเกษตรกรยังขาดทักษะ ทำให้อาจใช้ระยะเวลานานถึง 2 ปี กว่าจะสามารถจับไปจำหน่ายได้ วิธีการแก้ไข คือ ทำการเพาะเลี้ยงใน ศวพก. (หรือโรงเพาะที่เป็น nursery อื่นๆ ในอนาคต) จนมีขนาดประมาณ 50 กรัม ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 2-3 เดือน หลังจากนั้น จึงปล่อยให้ เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงในบ่อดิน (เช่น บ่อกุ้งร้าง) ด้วยความหนาแน่น 3 ตัว/ตร.เมตร เป็นเวลาประมาณ 4-5 เดือน (น้ำหนัก 300-500 กรัม/ตัว) ก็จะจับขายได้ โดยจะมีอัตรารอดอยู่ที่ 80% ซึ่งผลผลิตที่ได้โดยประมาณ คือ 1.5 ตัน/ไร่ คิดเป็นจำนวนเงินโดยประมาณ 450,000 บาท/ไร่ (โดยคิดที่ราคาปลิงทะเลแห้ง กก. ละ 3,000 บาท) ราคาที่ได้นี้อาจจะขึ้นลงได้ตามความต้องการของตลาด และเนื่องจากปลิงทะเลเป็นสัตว์ที่กินของเน่าเสีย จึงช่วยประหยัดค่าอาหารเพาะเลี้ยงเฉพาะ เมื่อเปรียบกับการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ




วีดีโอ การเลี้ยงปลิงทะเล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบทความ เช่น "สัตว์ปีก"