วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พวกสัตว์ลำตัวมีโพรง

พวกสัตว์ลำตัวมีโพรง 
  สัตว์พวกนี้ลำตัวคล้ายทรงกระบอก มีช่องเปิดออกจากลำตัวเพียงช่องเดียว กลางลำตัวเป็นโพรง เป็นทางให้อาหารเข้า และกักอาหารออกจากลำตัว มีเข็มพิษไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ บางชนิดอาศัยในน้ำเค็ม เช่น แมงกะพรุน ปะการัง ดอกไม้ทะเล และบางชนิดอาศัยในน้ำจืด เช่น 
ไฮดรา 

  เป็นสัตว์ชั้นต่ำ หลายเซลล์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrate animal) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือเนื้อเยื่อชั้นแรก(epidermis) และเนื้อเยื่อชั้นใน (gastrodermis) อยู่ในไฟลัมCnidariaหรือCoelenterata ไฮดราเป็นพวกเดียวกับแมงกระพรุน ดอกไม้ทะเล และปะการัง สาเหตุที่จัดไฮดรา ไว้ในไฟลัม Cnidaria เพราะไฮดรามีเซลล์ที่มีชื่อว่า Cnidoblast หรือ sting cell ซึ่งเซลล์นี้จะสร้าง nematocyst พบได้ทั่วไปตามผิวหนังชั้นนอกและพบมากที่บริเวณหนวด มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตมาก ช่วยจับเหยื่อเป็นอาหารและป้องกันตัวโดยเซลล์นี้จะปล่อยสารพิษ พร้อมกับปล่อย nematocyst ออกไป พิษนี้จะทำให้ศัตรูเกิดอาการอ่อนเปลี้ย และเป็นอัมพาต เราสามารถมองเห็นไฮดราได้ด้วยตาเปล่า ในแหล่งน้ำจืดที่สะอาด ได้แก่ บ่อ บึง คู คลอง ทะเลสาบ แม่น้ำ เป็นต้น จะพบเป็นตัวเดี่ยวๆ (solitary) ไม่อยู่เป็นโคโลนี (colony) มักเกาะตามส่วนต่างๆของพืชน้ำ เช่น ราก กิ่ง ลำต้น ใบ และเศษวัสดุที่ลอยอยู่ในน้ำ

ลักษณะทั่วไป
  ไฮดรามีหลายสี ได้แก่ สีเทาอ่อนจนถึง เทาแก่ สีน้ำตาลอ่อน สีเขียว หรืออาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและอาหารที่กินเข้าไป ลักษณะและรูปร่างของไฮดราแบ่งได้เป็น4 ส่วน บริเวณปาก (hypostome )และหนวด ( tentacle ) บริเวณกระเพาะ ( gastric region)บริเวณก้านตัว (stalk region) ฐานตัว basal dise หรือ pedal diseส่วนปากมีลักษณะนูนออกมาคล้ายรูปกรวย เรียกว่า hypostome รอบๆ hypostome มีหนวด(tentacle) เรียงเป็นวงชั้นเดียว มีตั้งแต่ 4-12 เส้น ส่วนความยาวของหนวด เมื่อโตเต็มวัยจะยาวหรือสั้นกว่าลำตัวแล้วแต่ชนิด บางชนิดยาวถึง 5 เท่า ของลำตัว ไฮดรา มี 2 เพศ อยู่ในตัวเดียวกัน (hermaphodite) และแยกเพศคนละตัว dioecious ในสภาวะแวดล้อมที่สมบูรณ์ ไฮดราจะสืบพันธุ์แบบแตกหน่อ (budding) โดยจะให้หน่อใหม่ทุกๆ 1-2 วัน พบว่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสูงขึ้น และต่ำลง จะทำให้ไฮดราสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ที่แสดงเพศ ตัวผู้จะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนออกมาอยู่ระหว่างหนวด กับกระเพาะ ซึ่งทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (sperm) เรียกว่า อัณฑะ (testis) ส่วนอวัยวะที่แสดงเพศเมียอยู่ตอนกลางของลำตัว มีลักษณะพองนูน มีหน้าที่สร้างไข่ เรียกว่า รังไข่ (ovary) ไฮดราบางชนิด มีทั้งอัณฑะ และรังไข่อยู่บนตัวเดียวกัน สำหรับช่วงชีวิตของมันนั้น ยังไม่มีใครทราบว่าอายุจะยืนยาวเท่าไร

แหล่งที่พบและการเก็บตัวอย่างไฮดรา
ไฮดราอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดค่อนข้างสะอาด หรือน้ำสะอาดหลายชนิด ชอบอยู่ในน้ำนิ่ง ได้แก่ คู คลอง ทะเลสาบ แม่น้ำ เป็นต้น การเก็บตัวอย่างใช้อุปกรณ์ดังนี้

1.ภาชนะสำหรับตักน้ำ และพืชน้ำ เช่น กระป๋อง บีกเกอร์ เป็นต้น

2.ภาชนะสำหรับใส่น้ำและพืชน้ำ เช่น ตู้เลี้ยงปลา ขันน้ำ ขวดปากกว้าง

3.หลอดหยด

4.ไรแดง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากเป็นอาหารของไฮดรา

วิธีการเก็บตัวอย่างและเพาะเลี้ยงไฮดรา

1.ใช้ภาชนะตักน้ำ ให้ติดพืชน้ำมาด้วย (เช่น จอก แหน) ส่วนพืชที่ยึดติดกับพื้นดิน
( เช่นสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายฉัตร ฯลฯ) ให้เด็ดมาพอควร เพราะถ้ามากจะทำให้น้ำเน่าเสีย
2.ตั้งทิ้งไว้ค้างคืน 1 คืน ตรวจดูไฮดรา

การตรวจดูไฮดรา
1.เมื่อตักน้ำมาครั้งแรก อาจไม่พบ ให้ลองตักอีก 1-2 ครั้ง ถ้ายังไม่พบอีก ให้ย้ายไปตักแหล่งใหม่
2.ทำหลายๆ ครั้งจนพบ
3.เมื่อพบแล้ว สามารถเลี้ยงในภาชนะนั้นได้เลย พืชน้ำให้เหลือน้อยที่สุด เพราะ
อาจทำให้น้ำเสียได้

ข้อควรปฏิบัติถ้าต้องการย้ายไปเลี้ยงในภาชนะใหม่

1.ต้องเตรียมน้ำก่อน ถ้าเป็นน้ำปะปา ควรตั้งไว้ 3-5 วัน เพื่อให้สารที่ใช้ฆ่า
จุลินทรีย์ระเหยออกไปบ้าง
2.ควรบุพื้นด้วยหินก้อนเล็ก เศษอิฐหรือเศษกระถางต้นไม้ เพื่อช่วยเพิ่มการยึด
เกาะของไฮดรา และช่วยควบคุมอุณหภูมิไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป

การตรวจน้ำเลี้ยงว่าเหมาะสมหรือไม่

  การตรวจสอบว่าน้ำที่จะนำมาเลี้ยงไฮดราเหมาะสมหรือไม่นั้น มีวิธีการง่ายๆ คือ นำตัวไฮดรา 2-3 ตัว ใส่ลงไปในน้ำที่จะเลี้ยง แล้วทิ้งไว้สักครู่ สังเกตดูพฤติกรรม ถ้าพบว่าหนวดและลำตัวหดอยู่ตลอดเวลา ไม่ยอมยืดในลักษณะปกติ แสดงว่าน้ำนั้นยังไม่เหมาะสมที่จะนำมาเลี้ยง โดยทั่วไปแล้ว ไฮดราเติบโตได้ดีในน้ำเลี้ยงที่มี pH 6.7 – 7.5 และอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส

การให้อาหาร

  ในระยะแรกที่พบไฮดรา หรือนำไฮดรามาเลี้ยงต่อ สิ่งสำคัญนอกจากน้ำเลี้ยงแล้วก็คือ การให้อาหาร (ไรแดง) เนื่องจากไฮดราที่พบหรือนำมานั้นคงจะมีไม่กี่ตัว และถ้าให้ ไรแดงไปจำนวนมาก อาจทำให้ไรแดงเหลือมากก่อให้เกิดน้ำเน่าเสีย หรือบางครั้งไฮดราอาจจะไม่ได้กินอาหารเลยก็ได้ เพราะว่าไฮดราจะกินอาหารได้ก็ต่อเมื่ออาหารมาปะทะกับหนวด ดังนั้นในระยะแรก จำเป็นต้องใช้อาหารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะใช้หลอดหยดดูดไรแดงที่มีชีวิตอยู่แล้วค่อยๆปล่อยลงไปให้ใกล้กับหนวดของไฮดราที่ยืดเต็มที่ ถ้าเห็นไฮดราจับไรแดงก็แน่ใจได้เลยว่า จะสามารถเลี้ยงไฮดราได้สำเร็จ ในระยะนี้จะให้เช้าเย็น หรือทุกวันก็ได้ หลังเลี้ยงได้ 3-5 วัน ก็จะมีไฮดราเพิ่มจำนวนขึ้น เมื่อถึงเวลานั้นก็ไม่จำเป็นต้องใช้หลอดหยด ถ้าไม่ต้องการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วก็ให้อาหารเว้นวัน โดยเฉลี่ยแล้ว ให้ไรแดง 4 ตัว ต่อ ไฮดรา 1 ตัว ต่อ 1 วัน 
ข้อควรปฏิบัติในการเลี้ยงไฮดรา

  เมื่อพบว่าไฮดราที่เพาะเลี้ยงอยู่ไม่มีการเพิ่มจำนวน หรือลดจำนวนลง หรือมีอาการทั้งหนวดและลำตัวหดสั้น ไม่ยอมกินอาหาร โดยไม่ทราบสาเหตุ ต้องรีบป้องกันและแก้ไข ดังนี้

1.เปลี่ยนน้ำเลี้ยงใหม่ ใช้สายยางขนาดเล็กเปลี่ยนน้ำแบบกาลักน้ำ

2.ถ้าอาการไฮดรายังไม่ดีขึ้น ( คือลักษณะไม่อยู่ในสภาพปกติ) ให้ย้ายตัวไฮดราไป
ยังภาชนะใหม่ และน้ำใหม่ ถ้าไฮดราเกาะอยู่ที่กระจก ให้ใช้หลอดหยดเขี่ยตัวให้หลุดจากกระจกก่อน แล้วจึงดูด และถ้าเกาะอยู่กับเศษวัสดุ เช่นหิน พืชน้ำ ก็ให้ยกไปทั้งเศษวัสดุนั้น

3.หมั่นทำความสะอาดภาชนะที่ใช้เลี้ยงอยู่เสมอเมื่อพบว่ามีสาหร่ายขึ้นที่ภาชนะเลี้ยง ให้ใช้สำลี ฟองน้ำ หรือสก๊อตไบรท์ พันปลายไม้เช็ดในภาชนะ และถ้าพื้นภาชนะมีตะกอนมากก็ให้ใช้สายยางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตรดูดออก

4.อาหารที่ใช้กันมากคือ ไรแดง (Moina sp.) หรือลูกน้ำขนาดเล็ก ก่อนให้ควรนำไรแดงที่ได้มาจากแหล่งน้ำ หรือจากตลาดแช่น้ำที่สะอาดไว้สักพัก เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออก ไฮดรา 1 ตัว จะกินไรแดงประมาณ 4 ตัว ภายใน 1 วัน ถ้าให้มากไป ไรแดงที่เหลือจะทำให้เกิดน้ำเสียได้ 

วีดีโอ ไฮดรา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบทความ เช่น "สัตว์ปีก"